หลักการทำงานของไส้กรอง RO (Reverse Osmosis), เมนเบรน RO, เครื่องกรองน้ำ RO, ไส้กรองน้ำ RO

หลักการทำงานของไส้กรอง RO (Reverse Osmosis)

การทำงานของไส้กรอง RO, Reverse Osmosis, เครื่องกรองน้ำ RO, RO เมนเบรน, ตู้กดน้ำดื่ม, ตู้น้ำหยอดเหรียญ

การกรอง RO (Reverse Osmosis)
การทำงานของระบบ Reverse Osmosis เป็นการกรองอย่างละเอียดที่ให้คุณภาพน้ำสะอาดบริสุทธิ์ถึง 99.999 % ด้วยความละเอียดของไส้เมมเบรนถึง 0.0001 ไมครอนทำให้มั่นใจได้ถึงคุณภาพของน้ำดื่ม

น้ำดื่ม RO กับค่ากรดด่าง pH

ความปลอดภัยของน้ำดื่ม RO กับค่ากรดด่าง pH

โดยปกติน้ำบริสุทธิ์จะมีความเป็นกลางหรือมีค่า pH= 7 (ที่อุณหภูมิ 25 °C) เมื่อน้ำมีสารอื่นเจือปนจะทำให้ค่าความเป็นกรดด่างของน้ำ(pH) เปลี่ยนไป ในธรรมชาติสารที่มีผลทำให้ค่า pH ของน้ำเปลี่ยนแปลง คือสารกลุ่มคาร์บอเนต ไบคาร์บอเนต และคาร์บอนไดออกไซด์ ในน้ำที่มีค่าความเป็นกรดด่างต่างๆ จะมีสัดส่วนของสารทั้ง 3 ชนิดนี้แตกต่างกัน และเมื่อในน้ำมีสารประกอบในกลุ่มคาร์บอเนต และไบคาร์บอเนตสูง น้ำนั้นจะมีค่า pH สูง แสดงว่ามีความเป็นด่าง แต่ถ้าสัดส่วนของคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำมีสัดส่วนสูง จะทำให้ pH ของน้ำมีค่าต่ำหรือมีความเป็นกรดสูงขึ้น เนื่องมาจากคาร์บอนไดออกไซด์ทำปฏิกิริยากับน้ำเกิดเป็นกรดคาร์บอนิก เมื่อน้ำผ่านระบบรีเวอสออสโมซีส เมมเบรนจะสามารถกักกั้นอนุมูลคาร์บอเนต และไบคาร์บอเนตไว้เกือบทั้งหมด ส่วนคาร์บอนไดออกไซด์สามารถซึมแพร่ผ่านเมมเบรนได้ทั้งหมด จึงทำให้น้ำที่ผ่านการกรอง (permeate) มีสัดส่วนของคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าปกติ จึงทำให้ pH ของน้ำที่ผ่านการกรองลดลง หรือมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น เนื่องจากสัดส่วนของคาร์บอนไดออกไซด์ต่อคาร์บอเนตสูงขึ้น

ส่วนน้ำทิ้งที่ถูกเมมเบรนกักกั้นจะมีสัดส่วนของคาร์บอเนตและไบคาร์บอเนตสูง จะทำให้น้ำในส่วนนี้มีค่า pH สูงขึ้น ดังนั้นน้ำที่ผ่านการกรองในระบบรีเวอสออสโมซีสบางครั้งอาจจะมีค่า pH ต่ำกว่า 5.8 ซึ่งมีฤทธ์เป็นกรดอ่อนอันเนื่องมาจากกรดคาร์บอนิคที่เกิดจากก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ ถ้าเรานำน้ำที่กรองจากระบบ RO มาดื่มโดยตรงก็จะทำให้รู้สึกแสบลิ้นเล็กน้อยคล้ายกับการดื่มน้ำโซดา ถ้าต้องการเพิ่มค่า pH ของน้ำที่กรองโดยระบบรีเวอสออสโมซีส อาจทำได้โดยการสเปรย์ (spray) น้ำให้ก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ที่ละลายอยู่ในน้ำ แยกตัวไปกับอากาศ (Air Stripping) หรือ ให้น้ำที่ผ่านระบบรีเวอสออสโมซีสผ่านไส้กรองถ่านกัมมันต์ ถ่านกัมมันต์จะทำหน้าที่ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ จะทำให้ค่าpH สูงขึ้นได้(มีตวามเป็นกลางมากขึ้น) ซึ่งไส้กรองถ่านกัมมันต์มักจะติดตั้งมาในระบบเครื่องกรอง RO ที่ใช้ตามบ้านเรือน มักจะมีไส้กรองคาร์บอนกรองน้ำหลังผ่านเมมเบรน เรียกว่า โพสต์คาร์บอน (post carbon) ติดตั้งมาด้วยถึงอย่างไรก็ตามค่า pH ของน้ำหลังผ่านระบบรีเวอสออสโมซีสต่ำกว่าปกติ มิใช่เกิดจากการมีกรดอนินทรีย์เจือปน แต่เกิดจากการที่น้ำนี้มีปริมาณสัดส่วนของคาร์บอนไดออกไซด์สูง จึงเกิดเป็นกรดคาร์บอนิค ดังนั้นถ้าจะดื่มน้ำนี้น่าจะไม่เป็นอันตราย เพราะมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับน้ำโซดาที่เราดื่มกัน ดังนั้นเราคงสบายกันได้แล้วนะครับ

ที่มา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) www.tistr.or.th

วิธีเปลี่ยนแปลงถ่านปั้มจ่ายน้ำ Shurflo

วิธีเปลี่ยนถ่าน ปั้มจ่ายน้ำ Shurflo

1. ขันน็อต 2 ตัวด้านบนของตัวปั้มจ่ายน้ำ Shurflo ออก(น๊อตจะยาวประมาณ 4-5 นิ้ว)แล้วดึงฝาปั้มจ่ายน้ำออกมา

เปลี่ยนแปลงถ่านปั้มจ่ายน้ำ Shurflo

การเปลี่ยนแปลงถ่านปั้มจ่ายน้ำ Shurflo

2. เมื่อเปิดฝาออกมา จะเห็นแปลงถ่านอยู่ 2 ชิ้ัน ทำการปลี่ยนถ่าน (ในกรณีเมื่อซื้อแปลงถ่านมาอาจจะมีขนาดใหญ่กว่าช่องใส่ถ่าน ให้ทำการฝนให้เล็กลงพอประมาณ ให้เข้ากับช่องใส่ถ่านได้พอดี)

การเปลี่ยนแปลงถ่านปั้มจ่ายน้ำ Shurflo

3. เมื่อเปลี่ยนเสร็จ ทำการใส่ฝาปั้มจ่ายน้ำกลับเหมือนเดิม โดยสังเกตขอบฝาปั้มจะมีช่องอยู่ 2 ช่อง สำหรับใช้ลวดแข็งๆ แหย่เข้าไปเพื่อถ่างแปลงทั้ง 2 ข้างให้เข้ากับปั้มจ่ายน้ำ (อาจจะต้องใช้ความพยายามพอสมควร)

4. สุดท้ายแล้วให้ทดสอบการทำงานของปั้มจ่ายน้ำ Shurflo (ความถี่ในการเปลี่ยนแปลงถ่าน นั้นขึ้นอยู่กับการใช้น้ำ ประมาณ 90 หน่วยขึ้นไป)